HH. Phakchok Rinpoche message in June 2011 สาส์นจาก สมเด็จ พักชก ริมโปเช ในเดือน มิถุนายน 2554
(ข้อความภาษาไทยอยู่ด้านล่าง)
Dear Friends Near and Far,
Greetings to you all on this very special “pen chu” falling in the month of “Saga Dawa”. Pen chu meaning Guru Rinpoche Day falling on a Saturday which is a rare occurrence and “Saga Dawa”, the most sacred month in the Tibetan Lunar calendar marking Buddha’s birth, enlightenment and parinirvana.
So, How have you all been? I hope very well. For those of you who wondered why I didn’t drop by in your inbox with my regular GRD message last month, just so you know, I didn’t forget you. It just so happened that the 10th day got skipped last month in the lunar calendar! Anyhow, just to update you on my whereabouts, I’m at the moment in Hong Kong for a teaching program with H.E. Chokling Rinpoche, who on this on this special day gave a Sampa Lhundrup empowerment, which was later followed by a 100,000 feast offering.
Since today being so special and therefore auspicious, I thought I say a little on “Lame Naljor” or Guru Yoga, which is the practice of merging your mind with the wisdom mind of the guru.
Five Ways of Practicing of Guru Yoga
1. Outer Guru Yoga: Requesting blessings through supplication 2. Inner Guru Yoga: Recitation and receiving the four empowerments 3. Secret Guru Yoga: Meditating on the Guru and Yourself as Indivisible 4. Innermost Secret Guru Yoga: Resting uncontrived in equipoise 5. Unsurpassable Innermost Secret Guru Yoga: Primordially pure and spontaneously present
1. Outer Guru Yoga: Requesting Blessings through Supplication The first guru yoga is to make supplication, so we visualize the guru in the space in front of us. We fold our palms and with our speech we say, “I go for refuge in you. I have no other hope but you. I supplicate you from the very depths of my heart!”. We really think like this in our minds and give rise to sincere faith and devotion. So in this way we make supplications, requesting the guru, “Please look on me with your compassion and bestow your blessings!” just as is taught in Calling the Guru from Afar. That’s the outer guru yoga of supplication.
2. Inner Guru Yoga: Recitation and Receiving the Four Empowerments Inner guru yoga is mantra recitation for the guru, so [if the guru is Guru Rinpoche] then we recite the Vajra Guru mantra and visualize receiving the four empowerments from the Guru visualized in the space before us. First, from the white Om in the guru’s forehead white light-rays radiate out and strike out own forehead so that we attain the blessings of enlightened body. Then from the guru’s throat, red light-rays radiate out and strike our throat so that we attain the blessings of enlightened speech. Then from the blue letter Hung in the guru’s heart centre, blue light-rays radiate out and strike out heart centre so that we attain the blessings of enlightened mind. Then for the fourth empowerment there are two different traditions: one way is to visualize yellow light-rays radiating out from the letter Hrih in the guru’s navel and another way is to visualize white, red, and blue light-rays radiating out simultaneously from all of the three syllables (Om, Ah, and Hung). Either way, by these light-rays striking you, you imagine that primordial wisdom has been born within your stream of being. You have then received the four empowerments blessing you with enlightened body, speech, mind, and primordial wisdom.
3. Secret Guru Yoga: Meditating on the Guru and Yourself as Indivisible Whoever the guru may be, you think you’ve now attained all of their blessings through receiving the four empowerments, as was just explained, and the guru now dissolves into yourself through the central channel on the crown of your head. By doing so, the guru’s enlightened body and your body, the guru’s enlightened speech and your speech, and the guru’s enlightened mind and your mind have become completely indivisible, inseparable and you remain within that state.
4. Innermost Secret Guru Yoga: Resting Uncontrived in Equipoise Resting in equipoise. You leave your mind completely uncontrived, unfabricated, unaltered, totally at ease. This is the innermost secret guru yoga.
5. Unexcelled Innermost Secret Guru Yoga: Primordially Pure and Spontaneously Present What is the essence of the guru? Primordially pure, primordially unborn. What are the excellent qualities of the guru? They are spontaneously present. The guru’s knowledge, love, and capacity are spontaneously present; they’ve been there, present from beginningless, primordial time. You need to understand these two: primordially pure and spontaneously present. You need to understand, “These have never been separate or apart from me. My own mind is primordially pure. My own mind is spontaneously present. This itself is the guru. I’ve never been separated from these.” Understanding primordially purity and spontaneous presence and being able to rest in equipoise within that state is the unexcelled innermost guru yoga.
Just visualizing, imagining the guru dissolving into you and their enlightened body and what you think of as your own dirty, impure body mixing together—we can’t do that, right? Because it won’t work. So we need to understand that our own minds are primordially pure in essence and that all the excellent, enlightened qualities are spontaneously present within our own minds. Remaining vivid and aware in that state of recognition is the unexcelled innermost secret guru yoga.
Sarva Mangalam,
Phakchok Rinpoche
แด่มิตรที่รักทั้งไกลและใกล้
ข้าพเจ้าขอทักทายท่านทั้งหลายในวาระ “เพนชู” อันพิเศษซึ่งมาถึงในเดือนนี้ซึ่งตรงกับเดือน “วิสาขบูชา” เพนชูหมายถึงโอกาสที่วันคุรุริมโปเชเกิดมาตรงกับวันเสาร์ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก และประจวบกับเดือนที่มีวัน “วิสาขบูชา” ซึ่งเป็นเดือนที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในปฏิทินทิเบต ตรงกับวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน
ท่านทั้งหลายเป็นอย่างไรบ้าง หวังว่าคงสบายดี ท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมข้าพเจ้าจึงไม่ได้ส่งสาส์นทักทายในวันคุรุริมโปเชเหมือนเช่นเคยในเดือนที่แล้ว ข้าพเจ้าอยากจะบอกว่าไม่ได้เป็นเพราะข้าพเจ้าลืม แต่เป็นเพราะวันที่สิบของเดือนที่แล้วไม่มีในปฏิทินทางจันทรคติ ช่วงนี้ข้าพเจ้ากำลังบรรยายธรรมอยู่ที่ฮ่องกงกับท่านชกลิงริมโปเช ซึ่งในวันพิเศษนี้ ท่านได้ทำพิธีมนตราภิเษกซัมปาลุนดรุบ ต่อด้วยการถวายทาน 100,000 ครั้ง
เนื่องจากวันนี้เป็นวันที่มีความพิเศษและถือเป็นศุภมงคล ข้าพเจ้าจึงอยากจะพูดถึงเรื่อง “ลาเม นัลจอร์” หรือคุรุโยคะ นิดหน่อย ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติด้วยวิธีหลอมรวมจิตของเราเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับจิตอันเปี่ยมด้วยปัญญาของพระอาจารย์
คุรุโยคะนี้มีวิธีปฏิบัติอยู่ห้าวิธีด้วยกันคือ 1. คุรุโยคะภายนอก คือการขอพรด้วยการสวดอ้อนวอน 2. คุรุโยคะภายใน คือการสวดและขอรับมนตราภิเษก 3. คุรุโยคะขั้นลึก คือการภาวนาถึงพระอาจารย์และตัวเราว่าเป็นหนึ่งเดียวแยกกันไม่ออก 4. คุรุโยคะขั้นลึกยิ่งขึ้น คือทรงจิตอยู่ในสภาวะนิ่ง ไม่ปรุงแต่ง ไม่หวั่นไหว 5. คุรุโยคะขั้นลึกที่สุด คือการตั้งจิตอยู่ในสภาวะของจิตบริสุทธิ์เดิมแท้และอยู่ในปัจจุบันขณะจริงๆ
1. คุรุโยคะภายนอก หมายถึงการขอพรด้วยการสวดอ้อนวอน การปฏิบัติคุรุโยคะขั้นแรกคือการสวดขอพรต่อพระอาจารย์ ให้เราเริ่มด้วยการตั้งนิมิตถึงพระอาจารย์อยู่เบื้องหน้า เราประนมมือและกล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอถือเอาพระอาจารย์เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งอื่นใดไม่มีอีกแล้ว ข้าพเจ้าขอพรจากท่านด้วยจิตใจที่แน่วแน่เต็มเปี่ยม” จิตจะเกิดศรัทธาและตั้งมั่นด้วยใจจริง เราขอพรด้วยวิธีนี้ และขอต่อพระอาจารย์ของเราว่า “โปรดเมตตาศิษย์และอำนวยพรให้ศิษย์ด้วยเถิด” ดังที่สอนกันในบทสวดเรียกหาพระอาจารย์ นี่ก็คือการสวดขอพรในคุรุโยคะภายนอก
2. คุรุโยคะภายใน การสวดและขอรับมนตราภิเษกสี่อย่าง คุรุโยคะภายในก็คือการสวดมนต์ถึงพระอาจารย์ (ถ้าพระอาจารย์ในที่นี้หมายถึงองค์คุรุริมโปเช) ให้เราสวดบทวัชระคุรุ (โอม อา ฮุง เบนจา กูรู เปมา สิทธิ ฮุง – ผู้แปล) และตั้งนิมิตเพื่อรับมนตราภิเษกสี่อย่าง ด้วยการตั้งนิมิตถึงองค์คุรุริมโปเชอยู่เบื้องหน้า ขั้นแรกให้นึกภาพอักขระ “โอม” ที่หน้าผากของพระอาจารย์ซึ่งมีแสงสีขาวเปล่งตรงเชื่อมเข้ามายังหน้าผากของเราเพื่อให้เราได้รับพรแห่งกายตรัสรู้ ต่อไปนึกภาพที่ลำคอของพระอาจารย์ มีแสงสีแดงเปล่งออกมา (จากอักขระ “อา” — ผู้แปล) เชื่อมเข้ามายังลำคอของเราเพื่อให้เราได้รับพรแห่งวาจาตรัสรู้ แล้วนึกภาพอักขระ “ฮุง” สีฟ้าจากตรงตำแหน่งหัวใจ แสงสีฟ้านี้แผ่มายังจุดกลางใจของเราให้เราได้รับพรจากจิตตรัสรู้ ส่วนมนตราภิเษกอย่างที่สี่มีวิธีปฏิบัติได้สองอย่างตามสายการปฏิบัติ ทางหนึ่งคือให้ตั้งนิมิตว่ามีแสงสีเหลืองเปล่งออกมาจากอักขระ “ชรี” ที่จุดตรงใต้สะดือของพระอาจารย์ ส่วนอีกทางหนึ่งคือตั้งนิมิตว่ามีแสงสีขาว แดง และน้ำเงิน เปล่งออกมาพร้อมๆ กันจากอักขระทั้งสามคือ โอม อา และ ฮุง จะเลือกใช้ทางไหนก็ได้ เมื่อเราได้รับแสงนี้แล้ว ให้นึกภาพว่าเกิดจิตแห่งปัญญาบริสุทธิ์เดิมแท้แผ่ซ่านไปทั่วกายของเรา ด้วยวิธีนี้ เราก็จะได้รับมนตราภิเษกทั้งสี่ คือทางกายตรัสรู้ วาจาตรัสรู้ จิตตรัสรู้และ ปัญญาเดิมแท้อันบริสุทธิ์
3. คุรุโยคะขั้นลึก คือการภาวนาว่าตัวเรากับพระอาจารย์เป็นหนึ่งเดียวไม่แบ่งแยกกัน ไม่ว่าพระอาจารย์จะเป็นใครก็ตาม ให้คิดว่าเราได้รับพรจากพระอาจารย์จากการมนตราภิเษกทั้งสี่อย่างดังที่ได้กล่าวถึงในข้อที่แล้ว และบัดนี้ ให้ตั้งนิมิตว่าพระอาจารย์หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเราโดยพรจากพระอาจารย์เข้าไปที่ช่องตรงกลางกระหม่อมศีรษะของเรา ด้วยวิธีนี้ กายของพระอาจารย์กับกายของเรา วาจาของท่านกับวาจาของเรา จิตของท่านกับจิตของเราจะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว ไม่แบ่งแยกกัน ให้เราคงอยู่ในสภาวะนี้
4. คุรุโยคะขั้นลึกยิ่งขึ้น คือทรงอยู่ในสภาวะนิ่ง ผ่อนคลายอยู่ในลักษณะเดิม ให้จิตคงสภาวะที่นิ่ง ไม่ปรุงแต่ง ไม่ซัดส่ายเปลี่ยนแปลง ผ่อนคลายเต็มที่ นี่ก็คือคุรุโยคะขั้นลึกยิ่งขึ้น
5. คุรุโยคะขั้นลึกที่สุด คือ การตั้งจิตอยู่ในสภาวะของจิตบริสุทธิ์เดิมแท้และอยู่ในปัจจุบันขณะจริงๆ แก่นแท้ของพระอาจารย์คืออะไร คือสภาพที่บริสุทธิ์ ดั้งเดิมแท้ ลักษณะอันเป็นเลิศของพระอาจารย์เป็นอย่างไร ก็คืออยู่ในปัจจุบันขณะจริงๆ ความรู้ ความรักและความสามารถของพระอาจารย์ล้วนดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ เป็นอยู่แต่เดิมแล้ว มิมีจุดเริ่ม มีอยู่สองอย่างที่เราต้องทำความเข้าใจ นั่นคือ ความบริสุทธิ์เดิมแท้ และการดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะจริงๆ เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่า “สภาพนี้ก็ไม่ได้แบ่งแยกหรืออยู่ต่างหากจากเรา เราก็มีจิตอันบริสุทธิ์เดิมแท้อยู่แล้ว จิตของเราก็สามารถดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะได้ นี่เองคือสภาวะจิตของพระอาจารย์ เราไม่เคยแบ่งแยกจากสภาวะนี้เลย” การเข้าใจสภาวะบริสุทธิ์เดิมแท้และการดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะก็คือการทรงจิตตั้งอยู่ในสภาวะนิ่ง ไม่ปรุงแต่ง นี่เองคือสภาวะของคุรุโยคะอันลึกที่สุด
ขอแค่เราตั้งนิมิตว่าพระอาจารย์หลอมรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับเรา กายตรัสรู้อันบริสุทธิ์ของท่านรวมเข้ากับกายของเราที่เราคิดว่าไม่สะอาด ไม่บริสุทธิ์ บางทีเราก็ไม่อยากจะคิดอย่างนั้นใช่ไหม เราคิดว่าคงไม่ได้ผลหรอก แต่เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่าจิตของเราก็มีแก่นแท้ที่บริสุทธิ์ดั้งเดิม เป็นจิตที่มีคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม สามารถบรรลุถึงการตรัสรู้ได้ ดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะได้อยู่แล้ว การดำรงจิตอยู่ในสภาวะที่ตื่นและรู้รอบ มีสติเต็มที่ ก็คือการปฏิบัติคุรุโยคะขั้นลึกที่สุดอันสมบูรณ์ไม่มีที่เปรียบ
ขอความสวัสดิมงคลจงบังเกิดแก่ทุกท่านเทอญ
พักชก ริมโปเช
Leave a Reply